คำถามเกี่ยวกับ deeple pay

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้งาน deeple pay (FAQ)

คำถามทั่วไป

การผูกบัญชีธนาคารและการยืนยันบัญชีธนาคาร

การใช้งาน deeple pay

คำถามทั่วไป

1. deeple pay คืออะไร

ระบบรับชำระเงินออนไลน์ที่รองรับการชำระเงินได้หลายช่องทาง, เชื่อมต่อกับรายการสั่งซื้อของลูกค้าและยืนยันการชำระเงินให้อัตโนมัติ ซึ่งช่องทางการชำระเงินที่รองรับมีดังนี้
  • คิวอาร์โค้ด (QR code)
  • โมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking)
  • บัตรเดบิต / เครดิต (Debit / Credit Card)
  • ทรูมันนี่วอลเล็ต (TrueMoney Wallet)

2. ข้อดีของ deeple pay มีอะไรบ้าง

  • ข้อมูลร้านค้าและลูกค้าปลอดภัยด้วยระบบ Secure payment ระดับมาตรฐานสากลจาก PCI DSS LEVEL 1
  • สะดวก รวดเร็ว ระบบจะยืนยันการชำระเงินให้อัตโนมัติ ลูกค้าไม่ต้องรอแอดมินตรวจสอบสลิป
  • เมื่อลูกค้าชำระเงินสำเร็จ ร้านค้าจะรับรู้ยอดเงินเข้าในระบบได้ทันที และเมื่อมีการถอนเงินออก ระบบจะแสดงรายการถอนเงินพร้อมอัปเดตยอดเงินคงเหลือให้อัตโนมัติ

3. มั่นใจได้อย่างไรว่า deeple pay ปลอดภัย

นอกจากเรื่องข้อมูลการชำระเงินของลูกค้าและร้านค้าที่อยู่ภายใต้การดูแลความปลอดภัยของ PCI แล้ว ในกระบวนการถอนเงินจาก deeple pay นั้น ผู้ที่สามารถถอนเงินจากระบบได้จำเป็นต้องทำการระบุตัวตนและยืนยันข้อมูลบัญชีธนาคารกับเจ้าหน้าที่ deeple ก่อน เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว ร้านค้าจึงจะดำเนินการถอนเงินจาก deeple pay ได้

การผูกบัญชีธนาคารและการยืนยันบัญชีธนาคาร

1. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบการยืนยันบัญชีธนาคารอย่างไรบ้าง

เพื่อป้องกันการแอบอ้างตัวตนในการทำธุรกรรมผ่านระบบ deeple Advanced AI Chatbot เจ้าหน้าที่ deeple จำเป็นต้องทำการตรวจสอบดังนี้
1.1 บัญชีธนาคาร - ชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีต้องตรงกับข้อมูลในรูปสมุดบัญชีหรือเอกสารอื่น ๆ ที่แนบมา
1.2 ข้อมูลส่วนตัว รายละเอียดดังนี้
  • สำหรับบุคคลธรรมดา - ตรวจสอบข้อมูลในรูปบัตรประจำตัวประชาชน และข้อมูลส่วนตัวที่กรอกไว้ต้องตรงกัน
  • สำหรับนิติบุคคล - ตรวจสอบรูปหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และข้อมูลส่วนตัวที่กรอกไว้ต้องตรงกัน
เงื่อนไขในการตรวจสอบมีดังนี้
หมายเหตุ การกรอกข้อมูลที่อยู่สำหรับบุคคลธรรมดาไม่จำเป็นต้องตรงกับในบัตรประจำตัวประชาชน

2. ไม่มีสมุดบัญชีธนาคาร ใช้เอกสารอะไรแทนได้บ้าง

2.1 บัญชีเงินฝากออมทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-saving Account / E-passbook)
2.2 สำหรับผู้ที่ใช้บัญชีกระแสรายวัน / บัญชีเดินสะพัด สามารถใช้เอกสารอื่น ๆ ที่ออกโดยธนาคารได้ ซึ่งเอกสารดังกล่าวจำเป็นต้องระบุชื่อเจ้าของบัญชีและเลขที่บัญชีชัดเจน (ชื่อเจ้าของบัญชีในเอกสารจำเป็นต้องตรงกับชื่อที่กรอกในข้อมูลส่วนตัว)
ตัวอย่างเอกสารที่ออกโดยธนาคารมีดังนี้
  • หนังสือรับรองการมีบัญชีเงินฝากหรือหนังสือรับรองการเปิดบัญชี
  • ใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน
  • รายการเดินบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (Statement)

3. เอกสารที่ใช้ในการกรอกข้อมูลส่วนตัวมีอะไรบ้าง

  • กรณีบุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ เห็นรูปใบหน้าและข้อมูลในบัตรชัดเจน
  • กรณีนิติบุคคล ใช้ใบจดทะเบียนการค้า, หนังสือรับรองนิติบุคคลหรือใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

4. ทำไมผลการยืนยันบัญชีธนาคารถูกปฏิเสธ

5. หากการผลการยืนยันบัญชีธนาคารถูกปฏิเสธ ต้องดำเนินการอย่างไร

ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขจุดที่ผิดพลาดตามที่เจ้าหน้าที่ deeple แนบเหตุผลกลับมาในหน้ารายการธุรกรรม โดยดำเนินการใหม่อีกครั้งตามคู่มือ การผูกบัญชีธนาคารและการยืนยันบัญชีธนาคารใน deeple pay

6. รออนุมัติจากเจ้าหน้าที่ภายในกี่วัน

ภายใน 24 ชั่วโมง

7. การผูกบัญชีธนาคารและการยืนยันบัญชีธนาคารต้องทำทุกครั้งจะที่ถอนเงินหรือไม่

ไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้งที่ถอนเงิน ผู้ใช้งานจะต้องผูกบัญชีธนาคารและยืนยันบัญชีธนาคารก็ต่อเมื่อ
  1. 1.
    ครั้งแรกที่มีการถอนเงินจาก deeple pay
  2. 2.
    มีการเปลี่ยนบัญชีธนาคารที่ผูกกับระบบ deeple

การใช้งาน deeple pay

1. ใครมีสิทธิ์เข้าถึงหน้าการจัดการ deeple pay ได้บ้าง

ผู้ที่มีบทบาทเป็น "เจ้าของ (Owner)" ในระบบ deeple เท่านั้น

2. สถานะการชำระเงินมีอะไรบ้าง

สถานะการชำระเงินขึ้นอยู่กับช่องทางการรับชำระเงินจากลูกค้า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ตารางสรุปสถานะการชำระเงินและเวลาในการถอนเงินจาก deeple pay (กรณีที่ทางร้านผ่านการยืนยันบัญชีธนาคารเรียบร้อยแล้ว)
ตัวอย่าง Settlement payment ของบัตรเดบิต / เครดิต
ระบบเริ่มสรุปยอดเงิน (settle) เวลา 20.00 น. และจะเปลี่ยนสถานะการชำระเงินเป็น "สำเร็จ" โดยใช้ระยะเวลาขึ้นอยู่กับจำนวนรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นในร้านค้า

3. เมื่อลูกค้าชำระเงินสำเร็จแล้ว ร้านค้าจะรับรู้ยอดเงินเข้าได้อย่างไร

ระบบจะอัปเดตสถานะรายการสั่งซื้อเป็นรอการจัดส่งโดยอัตโนมัติ และผู้ที่มีสถานะเป็น "แอดมิน" ในระบบสามารถดูสถานะการชำระเงินของลูกค้าแต่ละคนได้ในหน้ารายการสั่งซื้อหัวข้อ "การชำระเงิน"
สำหรับผู้ที่มีสถานะเป็น "เจ้าของร้าน" จะสามารถดูยอดเงินเข้าได้เหมือนกับแอดมิน นอกจากนี้ยังสามารถดูรายการยอดเงินเข้า-ออกทั้งหมดได้จากหน้ารายการธุรกรรมในเมนู deeple pay

4. สามารถถอนเงินได้ทันทีหรือไม่

สำหรับผู้ที่ถอนเงินจาก deeple pay เป็นครั้งแรกจำเป็นต้องผูกบัญชีธนาคารและยืนยันบัญชีธนาคารก่อน และทางร้านจะรับรู้ยอดเงินสะสมที่สามารถถอนได้ก็ต่อเมื่อรายการสั่งซื้อมีสถานะการชำระเงินเป็น "สำเร็จ" แล้วเท่านั้น หากทำรายการถอนเงินสำเร็จ ระบบจะโอนเงินเข้าบัญชีที่ผูกไว้โดยอัตโนมัติ

5. สามารถยกเลิกรายการสั่งซื้อที่ชำระเงินสำเร็จแล้วได้หรือไม่ อย่างไร

สามารถยกเลิกรายการสั่งซื้อได้โดยทำตามคู่มือการยกเลิกรายการสั่งซื้อ (Void order) ซึ่งสถานะรายการสั่งซื้อจะเปลี่ยนเป็นยกเลิก (Void) แต่สถานะการชำระเงินใน deeple pay จะแสดงเป็นสำเร็จเสมอ

6. สามารถทำเรื่องคืนเงินลูกค้า (Refund) ผ่าน deeple pay ได้หรือไม่

ร้านค้าสามารถดำเนินการคืนเงินให้ลูกค้าผ่านระบบ deeple ได้เฉพาะรายการสั่งซื้อที่รับชำระด้วยบัตรเดบิต/เครดิต และมีสถานะการชำระเงินเป็น "สำเร็จ" แล้วเท่านั้น โดยทำตามคู่มือ การคืนเงิน (Refund)
สำหรับรายการสั่งซื้อที่รับชำระด้วยช่องทางอื่น ทางร้านจำเป็นต้องโอนเงินคืนลูกค้าด้วยตนเอง

7. ค่าธรรมเนียมการใช้บริการ deeple pay เป็นอย่างไร

1. ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (Transaction Fee)
ระบบจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการชำระเงินจากร้านค้าโดยคิดเป็น % (เปอร์เซ็นต์) จากยอดขายของแต่ละรายการสั่งซื้อ ซึ่งค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทช่องทางการรับชำระเงินและแพลนที่ทางร้านใช้บริการ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %)
2. ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน (Withdrawal Fee)
ค่าธรรมเนียมการถอนเงินครั้งละ 15 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) เท่ากันทุกรายการและทุกแพลนที่ใช้บริการ
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการ deeple pay